ประวัติความเป็นมา และพัฒนาการ

  1. Home
  2. ประวัติความเป็นมา และพัฒนาการ

ประวัติความเป็นมา และพัฒนาการ

เริ่มต้นจากการก่อตั้งศูนย์คติชนวิทยา : ทศวรรษแรกของการเป็นศูนย์คติชนวิทยา

ช่วงทศวรรษแรก พ.ศ. 2510 – ปลายปี พ.ศ. 2519 สมัยที่อาจารย์บุญจันทร์
วงศ์รักมิตร เป็นอธิการวิทยาลัยครูเชียงใหม่ ได้มีการบรรจุวิชาคติชาวบ้าน โดยเน้นเรื่องของวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สำหรับนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย จึงเริ่มมีการจัดเก็บข้อมูลแล้ว นำมาจัดนิทรรศการในห้องลายสือไทของภาควิชาภาษาไทย ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวิชาเป็น คติชนวิทยา

พ.ศ. 2510 - ปลายปี พ.ศ. 2519

พัฒนาสู่การเป็นศูนย์ส่งเสริมและศึกษาวัฒนธรรมล้านนา

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2519 กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้งหน่วยประเคราะห์ทางวัฒนธรรมขึ้นในวิทยาลัยครูทั่วประเทศ

พ.ศ. 2519

จัดตั้งศูนย์คติชนวิทยาล้านนาไทยขึ้นแทนและมีการจัดแสดงข้อมูลสารสนเทศในลักษณะที่เรียกว่า
ศูนย์ส่งเสริมและศึกษาวัฒนธรรมล้านนาไทย (Lanna Thai Folklore Studies Center)

สมัยรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ในเวลานั้น) ได้มีการจัดตั้งเป็น
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ โดยให้มีสำนักงานที่ทำการชั่วคราวอยู่ที่ตึกหอสมุดชั้น 4 ต่อมาวันที่ 15 กรกฎาคม 2525 ได้ย้ายสถานที่จากหอสมุด ชั้น 4 มาอยู่ที่อาคารหอพักชาย 1 (อาคาร18) จนถึงปัจจุบัน และได้เปิดบริการให้ประชาชน
เข้าชมนิทรรศการและการจัดแสดงข้อมูลสารสนเทศ ทุกวันพฤหัสบดี – วันเสาร์

พ.ศ. 2524

จัดตั้ง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นหน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนการผลิตบัณฑิต ในการสนับสนุนการส่งเสริม
ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

พ.ศ. 2529 กรมการฝึกหัดครูได้ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารวิทยาลัยครู โดยจัดให้มีศูนย์และสำนักในวิทยาลัยครู และได้
จัดตั้ง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ให้เป็น
หน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนการผลิตบัณฑิต ในการสนับสนุนการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

พ.ศ. 2529

กระทรวงศึกษาได้กำหนดให้ ศูนย์วัฒนธรรม เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักศิลปวัฒนธรรม

พ.ศ. 2538 ได้มีการเปลี่ยนแปลง พระราชบัญญัติวิทยาลัยครูเป็นพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่ จนกระทั่งวันที่ 27 กันยายน 2542 กระทรวงศึกษาได้กำหนดให้ ศูนย์วัฒนธรรม เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักศิลปวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานสนับสนุนด้านอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่
ศิลปวัฒนธรรม ดูแลสิ่งแวดล้อมทางศิลปกรรมและธรรมชาติ ตลอดถึง
การสืบสานและเผยแพร่ภูมิปัญญาพื้นบ้านให้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

พ.ศ. 2538

กำหนดให้
สำนักศิลปวัฒนธรรม
เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม

พ.ศ. 2548 กฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ประกาศพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับฎีกา เล่ม 122 ตอนที่ 20 ก ลงวันที่ 8 มีนาคม 2548 กำหนดให้สำนักศิลปวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ปฏิบัติหน้าที่เป็นแหล่งส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศและภาษาไทย สู่สากล บริการวิชาการ และสื่อทันสมัยเพื่อฝึกทักษะทางภาษา พัฒนาความรู้และความสามารถทางด้านภาษาของนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยและประชาชนในท้องถิ่น สนับสนุนการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือทางด้านวิชาการกับสถาบัน การศึกษาทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นหน่วยงานสนับสนุน งานด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่
ศิลปวัฒนธรรม ดูแลสิ่งแวดล้อมทางศิลปกรรมและธรรมชาติ ตลอดจนสืบสานและเผยแพร่ภูมิปัญญาพื้นบ้านให้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ

พ.ศ. 2548

กำหนดให้สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักศิลปะและวัฒนธรรม

กฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ประกาศพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับฎีกา เล่ม 132 ตอนที่ 13 ก ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 กำหนดให้สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ในการส่งเสริมการอนุรักษ์ และการเผยแพร่องค์ความรู้ด้าน
การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และทำนุบำรุง
ศิลปวัฒนธรรมล้านนา

พ.ศ. 2558

ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์สำนักศิลปะและวัฒนธรรมรูปแบบใหม่

ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการ อาจมีข้อมูลบางส่วนที่ขาดหายไป หากท่านต้องการเข้าสู่เว็บไซต์เดิมสามารถคลิกได้ที่ปุ่มด้านล่าง