ข้อมูลการบริการ

การบริการของหน่วยงาน

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีการให้บริการผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและบุคคลภายนอก
ที่สนใจ  รายละเอียดดังนี้

เวลาเปิดทำการ

พิพิธภัณฑ์ / สำนักงาน

เปิดบริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
ปิดบริการ วันเสาร์ – วันอาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์
เข้าชมฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ติดต่อขอวิทยากรนำชมได้ที่ www.facebook.com/ilaccmru

54415266_606922209776482_2722625780919042048_o
DSC_0202

1. พิพิธภัณฑ์

1.1  เรือนอนุสารสุนทร  เป็นสถาปัตยกรรมเรือนล้านนาที่สร้างตามแบบของเรือนคำเที่ยง ซึ่งตระกูลชุติมา และตระกูลนิมมานเหมินทร์ได้สร้างเรือนกาแลหลังนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านเรือนโบราณล้านนา จัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนล้านนา

1.2  อาคารเทพรัตนราชสุดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามอาคารและเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเทพรัตนราชสุดา ในวันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านต่าง ๆ มีการจัดแสดง จำนวน 4 ชั้น ได้แก่ ชั้น 1 ห้องศูนย์ข้อมูลภูมิปัญญาล้านนา นิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 2  นิทรรศการ กลุ่มชาติพันธุ์ล้านนา (ลัวะ-ไทยวน-ไทเขิน-ไทยอง-ไทลื้อ-ไทใหญ่) นิทรรศการดนตรีล้านนา นิทรรศการเสื้อผ้าอาภรณ์ นิทรรศการเกี่ยวกับภูมิปัญญา ชั้น 3  นิทรรศการวัฒนธรรมใบลาน และ ชั้น 4  นิทรรศการสมเด็จพระกนิษฐาฯ และ นิทรรศการพุทธศาสนาและเครื่องสักการะล้านนา

บริการนำชมสำหรับนักศึกษาที่ต้องการหน่วยกิตกิจกรรม ในกิจกรรม "ไหว้พระ แอ่วเฮือน เยือนศิลป์" จัดขึ้นในทุกวันพุธ เวลา 13.00 - 16.00 น. ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม  จะได้รับ 1 หน่วยกิตกิจกรรม ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ https://forms.gle/rHGE1DMBRLNpQXVJ6 (รับจำนวนจำกัด 30 คน/ครั้ง)

นักศึกษาสามารถหาข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมเพิ่มเติมได้ที่หน้า คลังความรู้ศิลปวัฒนธรรม ได้ทางเว็บไซต์ www.culture.cmru.ac.th/learningcenter

2. ศูนย์การเรียนรู้ในการส่งเสริม การอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม

2.1  ศูนย์ใบลานศึกษา มีหน้าที่ในการสำรวจ รวบรวม ปริวรรต และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับคัมภีร์
ใบลาน พับสา เอกสารหายาก และเอกสารโบราณ (ต้นฉบับและภาพถ่าย) เพื่ออนุรักษ์ ศึกษาและเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจทั่วไป มุ่งสร้างฐานข้อมูลดิจิทัลและเชื่อมโยงเครือข่ายการอนุรักษ์และเผยแพร่เอกสารโบราณทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเอกสารสารโบราณทุกชนิด

2.2  ห้องศูนย์ข้อมูลภูมิปัญญาล้านนา มีหน้าที่ในการให้บริการข้อมูล องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนบริการสืบค้นหนังสือเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมของล้านนา โดยเปิดให้บริการกับนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นักวิชาการทั่วไป ตลอดจนบุคคลภายนอกที่สนใจ ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทางด้านวิชาการ

นอกจากนี้ผู้ที่สนใจดังกล่าวยังสามารถสืบค้นหาหนังสือหายาก ในหมวดต่าง ๆ ผ่านทาง “ระบบสืบค้นสารสนเทศห้องศูนย์ข้อมูลภูมิปัญญาล้านนา” โดยสามารถเข้าใช้งานระบบโดยคลิกเข้าไปที่ http://www.culture.cmru.ac.th/opac/index.php

IMG_20210128_094928
IMG_20210128_100921
82826428_1546470128842051_5105306704245948416_n
279949695_2325467174275672_6160647668355648754_n (1)
87265222_1585163774972686_61477195507302400_n
78377288_1490810811074650_3527410817198718976_n
aokwha-jongpara

3. กิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม

     3.1  โครงการ “ข่วงผญา ราชภัฏเชียงใหม่ สืบสานงานศิลป์” เพื่อแสดงผลงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ การสาธิตภูมิปัญญาล้านนา
การประกวดนิทรรศผลงานการบูรณาการและนวัตกรรมประยุกต์ด้านศิลปวัฒนธรรม การประกวดความรู้ความสามารถทางด้านศิลปวัฒนธรรม  และนิทรรศการวัฒนธรรมนานาชาติ ( 1 – 3 หน่วยกิจกรรม)

     3.2  โครงการเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา เพื่อสรรหาครูภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญทางด้านศิลปวัฒนธรรมในสาขาต่างๆ ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา” ได้มีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนก่อให้เกิดการสืบสาน
องค์ความรู้จากภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบสานองค์ความรู้
ด้านศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่คู่แผ่นดินล้านนา (1 หน่วยกิจกรรม)

3.3  โครงการฝึกอบรมด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา และร่วมกันสืบทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่าง
ภูมิปัญญาในท้องถิ่นกับคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และบุคคลทั่วไป อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบัน องค์กรชุมชน วัด และสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้และ
สืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (1 หน่วยกิจกรรม/หลักสูตร/ครั้ง)

3.4  โครงการการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ประเพณีล้านนา เพื่อให้อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ได้มีประสบการณ์และมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านประเพณีล้านนาของมหาวิทยาลัย ได้รับความรู้ และก่อให้เกิดการอนุรักษ์ด้านศิลปวัฒนธรรม มีหลายกิจกรรม คือ โครงการอนุรักษ์ ส่งเสริมประเพณีสงกรานต์ และการแต่งกายล้านนา โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พิธีกินอ้อผญา โครงการ
หล่อเทียนและแห่เทียนเข้าพรรษา (1-2 หน่วยกิจกรรม/โครงการ)

3.5  โครงการอบรมและสอบธรรมศึกษา เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาปฏิบัติศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง นำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม รู้จักรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม รู้จักแยกแยะความดี ความชั่ว ออกจากกัน สร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถาบันการศึกษาและสถาบันทางศาสนา และสร้างคุณลักษณะพึงประสงค์ของนักศึกษาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยวิชาการและคุณธรรม (2 หน่วยกิจกรรม)

3.6  โครงการอภิปรายองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีโบราณของล้านนา  โดยมีการจัดนิทรรศการที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับการจัดเสวนาวิชาการ  ครอบคลุมองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาแขนงต่าง ๆ  กล่าวคือ อักษรโบราณ วรรณกรรม ประเพณี อาหารการกิน และดนตรีนาฏศิลป์ และเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ท้องถิ่นเป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้ ซึ่งจะสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมที่มีมิติให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
(1 หน่วยกิจกรรม)

4. หนังสือตีพิมพ์เผยแพร่ และในรูปแบบ e-book

4.1 วารสารทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม “ข่วงผญา”  วารสารข่วงผญา The Journal of Thai Lanna Wisdom เป็นวารสารทางวิชาการรายปี (ปีละ 1 ฉบับ) เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน บทความหรือข้อคิดเห็นต่าง ๆ ได้ผ่านการกลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ ซึ่งได้จัดทำในรูปแบบรูปเล่มจัดส่งไปยังห้องสมุดของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลเผยแพร่ออนไลน์ทางหน้าเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (http://www.culture.cmru.ac.th /web60/book-research/khuang-phayha) และในระบบ Thai Journal Online หรือ ThaiJO (https://so06. tci-thaijo.org/index.php/khuangpaya/index)

4.2 วารสารศิลปะและวัฒนธรรม จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมสู่สังคม และความเคลื่อนไหวของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตลอดจนเป็นศูนย์กลาง
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันโดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ กำหนดออกปีละ 1 ครั้ง อาจารย์และนักศึกษาสามารถ
ส่งข้อคิดเห็น ตลอดจนบทความที่ต้องการเผยแพร่มายัง e-mail : ilaccmru@gmail.com โดยบทความและข้อคิดเห็นที่ปรากฏในวารสารศิลปะและวัฒนธรรม เป็นความคิดของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และกองบรรณาธิการแต่อย่างใด

4.3  การปริวรรตเอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลานและพับสาอักษรธรรมล้านนาที่มีอยู่จำนวนมากเก็บรักษาไว้ตามวัด และหน่วยงานต่าง ๆ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่เป็นเอกสารโบราณ ซึ่งส่วนมากจะเป็นเรื่องราว
คำสอนทางศาสนา นอกจากนั้นยังมีเนื้อหาเป็นตำนาน ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ พิธีกรรมและความเชื่อท้องถิ่นด้วย จึงได้มีการปริวรรตคัมภีร์ใบลานและพับจากอักษรธรรมล้านนาเป็นอักษรไทย หรือแปลเป็นภาษาไทยแล้วจำนวนหนึ่ง เพื่อนำมาศึกษาและเผยแพร่ ให้เป็นประโยชน์ทางวิชาการ สามารถ
เลือกอ่านได้ในห้องศูนย์ข้อมูลภูมิปัญญาล้านนา และเผยแพร่ออนไลน์ทางหน้าเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม

cover_issue_17418_th_TH
journal_artnculture_1_2564.jpg
TAI-ASTOLOGY-BOOK-2022.jpg

5. หน่วยอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่

ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และจัดกิจกรรมในเรื่องการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นให้แก่นักศึกษา บุคลากรและประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนศึกษา รวบรวม บันทึกข้อมูล  ตรวจสอบและรายงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรม  ไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

logo

6. การให้บริการอื่น ๆ ได้แก่

  • การให้บริการข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและเอกสารใบลาน
  • การให้บริการห้องประชุมเอื้องสายม่านพระอินทร์ สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 40 คน พร้อมโสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัย
  • การให้บริการและอำนวยความสะดวกด้านสถานที่จัดกิจกรรมด้านหน้าอาคารเทพรัตนราชสุดา และบริเวณเรือนอนุสารสุนทร
culture_meeting-room

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

อาคารเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  พื้นที่เวียงบัว
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง
จ.เชียงใหม่ 5030